วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

เกราะเกร็ด

ที่ตั้งและภูมิประเทศ
การพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ






การพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของวิชาการ เกาะเกร็ดและเติบโตและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วและที่สำคัญคือ เป็นการเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะวิกฤติของประเทศ เหตุผล แนวคิด วิธีการและดำเนินการที่ผลักดันให้การพัฒนานี้ประสบผลสำเร็จ จึงเป็นสิ่งน่าสนใจ การจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กระบวนการบริหารการจัดการในการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ดังมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ การศึกษาความเป็นไปได้ สำรวจสภาพท้องถิ่นของตำบลเกาะเกร็ดแล้วพบว่า เกาะเกร็ดมีศักยภาพเพียงพอที่สามารถจะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จึงกำหนดเป็นนโยบายเพื่อพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดย เริ่มต้นจากการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนดังรายละเอียดต่อไปนี้ ศึกษาประวัติความเป็นมาจากตำราหนังสือเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ นำมาเป็นจุดขาย ทำการสำรวจพื้นที่เกาะเกร็ดตามสภาพความเป็นจริง เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ลักษณะที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม การประกอบอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมต่างๆ จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบถึง

จุดเด่นและจุดด้อย ที่จะเป็นเเรงดึงดูด หรืออุปสรรคต่อการพัฒนา จุดเด่น ด้านสภาพแวดล้อม คือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวรามัญ ( มอญ ) ตลอดจนมีวัดที่เป็นโบราณสถาน วัตถุโบราณที่สวยงาม และที่สำคัญที่ตั้งของเกาะเกร็ด ยังอยู่ในบริเวณชานเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก
กิจกรรมการพัฒนาชาวบ้าน ฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ความสามรถในการเป็นมัคคุเทศก์จัดฝึกอบรมชาวบ้าน ให้มีความรู้ ทักษะ ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา และการแกะสลักลวดลายเครื่องปั้นดินเผา การพึ่งตนเองด้านรายได้ ชาวบ้านมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมและช่วยเหลือกัน ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าและบริการให้แก่นักท่องเที่ยวที่มี จำนวนเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพ เช่น การปั้นเครื่องดินเผา การขายอาหาร และสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้ เเก่ผู้ประกอบการอยู่แล้วเพิ่มขึ้น และผู้ที่ประสบปัญหาจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หันกลับมาประกอบอาชีพดั้ง เดิมในท้องถิ่น ของตน ดั้งนั้น ชาวบ้านจึงเห็นสมควรที่จะต้องให้มีการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่องตลอดไป และให้มีการพัฒนาร่วมกันในทุกด้านโดยได้อาศัยได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กร ชุมชนและกองทุนการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดในทุกด้านจากการร่วมทุนของชาวบ้านด้วย กันเอง


ประวัติความเป็นมา


ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่ หัวท้ายสระ หลังจากได้ดำเนินการขุดคลองมหาชัยได้แล้วเสร็จในปี จ.ศ.๑๐๘๓ แล้ว ในปีถัดมาได้มีพระราชดำริให้ขุดคลอง เตร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองซึ่งอ้อมมากให้เป็นเส้นตรง จากบริเวณใกล้ๆ ท่าเรือปากเกร็ด ตรงไปผ่านหน้า วัดสนามเหนือ วัดกลางเกร็ด ไปทางวัดเชิงเลนซึ่งแต่แรกขุดนั้นเป็นคลองลัดเกร็ด(หรือเตร็ดหมายถึงลำน้ำ เล็กลัดเชื่อมลำน้ำสายใหญ่สายเดียวกัน ) นั้น มีขนาดกว้างเพียง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๙ เส้น แต่เนื่องจากแรงของกระแสน้ำที่ไหลพัดผ่านนั้นแรงมาก จึงได้พัดเซาะตลิ่งพังและขยายความกว้างขึ้นมา จนในปัจจุบันจึงได้กลายเป็น แม่น้ำลัดเกร็ด ไปแล้ว และพื้นที่บนแผ่นดินเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไปโดยมีแม่น้ำเจ้า พระยาไหลผ่านเป็นรูปเกือกม้า ก็กลายเป็นเกาะชัดเจนขึ้น จึงถูกเรียกว่า “เกาะศาลากุน” เรียกตามชื่อวัดศาลากุน ส่วนตรงปากทางที่ขุดก็เรียกว่า “ปากเกร็ด”

ต่อมาเมื่อมีการตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้น “เกาะศาลากุน” จึงถูกยกฐานะเป็น “ตำบลเกาะเกร็ด” มี 7 หมู่บ้าน ประชาชนในเกาะเกร็ดเป็นชาวไทยเชื้อสายรามัญเดิมเป็นส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ทำสวน ค้าขาย และทำเครื่องปั้นดินเผา ประชาชนยังคงรักษา และอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีชาวรามัญไว้อย่างมั่นคง



ที่พักอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวก


นนทบุรี พาเลซ
3/19 หมู่ 1 ถ.นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000




ริเวอร์ไรน์ เพลส เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์9/280 หมู่ 7 ถ.พิบูลสงคราม ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000



เดอะ ไทย เฮ้าส์ นนทบุรี32/4 หมู่ 8 บางเมือง บางใหญ่ นนทบุรี 11140





โรงแรม 13 เหรียญ ติวานนท์99/9 หมู่ 3 ถนนบ้านใหม่ ปากเกร็ด นนทบุรี ประเทศไทย 11120





โรงแรม 13 เหรียญ บางใหญ่
56/2 หมู่ 6 ถนนเสาธงหิน บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140



โรงแรม 13 เหรียญ แอร์พอร์ต งามวงศ์วาน
30/19 หมู่ 9 บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี ประเทศไทย 11000



โรงแรม ริชมอนด์ สไตล์ลิส คอนเวนชั่น
69/783-787 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000



ของที่ระลึก

เครื่องปั้นดินเผาหมู่ 1 เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง โอ่งน้ำ ครก สามารถเดินดูการสาธิตการแกะสลักลายเครื่องปั้นดินเผา และเลือกซื้อของที่ระลึกได้






การเดินทางไปเกราะเกร็ด






รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกปากเกร็ดให้ตรงไปท่าน้ำปากเกร็ดประมาณ 1 กม. จะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัดสนามเหนือ ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 500 ม. จอดรถไว้ที่วัดสนามเหนือ แล้วลงเรือข้ามฟากที่ท่าเรือวัดสนามเหนือไป เกาะเกร็ด ค่าเรือ 2 บาทรถประจำทาง สาย 32, 51, 52, 104, ปอ. 5 และ ปอ. 6 ไปลงท่าน้ำปากเกร็ด แล้วเดินไปวัดสนามเหนือ หรือนั่งสามล้อถีบ แล้วลงเรือข้ามฟากไปเกาะเกร็ดเรือด่วนเจ้าพระยา จากท่าช้าง มีเรือ การเดินทางไปเกาะเกร็ด เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์


ข้อมูลทั่วไป

- ค่าโดยสารไปรอบเกาะ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 25 บาท

- เรือออกเวลา 10.00 - 17.00 น. (ทุก 1 ชม.)

- เรือหางยาวเหมาลำ นั่งได้ประมาณ 10 คน ราคา 350 บาท




เส้นทางการคมนาคม



การเดินทางเข้าสู่ตำบล การเดินทางไปเกาะเกร็ด :การเดินทางไป สู่ตำบล เกาะเกร็ด

ทำได้ดังนี้ :
1) การ เดินทางไปเกาะเกร็ด โดยทางรถยนต์ เดินทางไปที่ห้าแยกปากเกร็ด แล้วขับตรงไปยังท่าน้ำเทศบาล และข้ามฟาก โดยเรือข้ามฟากไปยังเกาะเกร็ด
2) การ เดินทางไปเกาะเกร็ด โดยทางรถยนต์ ก่อนจะถึงท่าเรือเทศบาล จะมีถนนแยกไปทาซ้าย ขับตรงไป จะมีท่าเรือข้ามฟากที่บริเวณวัดสนามเหนือซึ่งจะข้ามไปยังวัด ปรมัยยิกาวาสวรวิหาร
3) การ เดินทางไปเกาะเกร็ด โดยทางเรือ ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาซึ่งเปิดบริการระหว่างเส้นทาง วัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำวัดเตย อำเภอปากเกร็ดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00ไปเกาะเกร็ดต้องปั่นจักรยาน สบาย ใจไปกับอากาศที่เกาะเกร็ด ซึ่งไร้ควันพิษจากรถยนต์ เพราะเกาะเกร็ดไม่มีรถยนต์ มีจักรยานและจักรยานยนต์ ถ้าชอบออกกำลังด้วยการขี่จักรยาน เกาะเกร็ดคือที่เหมาะสม ที่จะ เดินทางไปเกาะเกร็ดการเดินทางไปเกาะเกร็ด นั้นถือว่าเป็น การเดินทาง ที่คุ้มค่า การเดินทางไปเกาะเกร็ด เพื่อชมวิถีชีวิตของชาวมอญ การเดินทางไปเกาะเกร็ด ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ การเดินทางไปเกาะเกร็ด สะดวก เหมาะกับการพักผ่อน ล่องเรือง เดินทางไปเกาะเกร็ด ชม ช็อป กิน ร่วมไปกับ การเดินทางไปเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี


ลักษณะของเกาะเกล็ด


เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มี พ.ท.ประมาณ 2,820 ไร่ มีสถานะเป็นตำบลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่ บ้าน อยู่ในเขต พ.ท.อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แต่เดิมเกาะเกร็ดมิได้เป็นเกาะ แต่เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินรูปโค้งลักษณะเป็นแหลมยื่นไปตามความโค้ง ของแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเรียกมาแต่เก่าก่อนว่า “บ้านแหลม”

ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าท้านสระแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุกคลองลัดเพื่อให้การสัญจรสะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า “คลองลัดเกร็ดน้อย” ลำคลองกว้างเพียง 6 วา จากตำบลปากอ่าว (ปากเกร็ดในปัจจุบัน) ไปยังแอ่งน้ำซึ่งอยู่ระหว่างวัดกลางเกร็ดและวักป่าฝ้าย (วักป่าเลไลย์) และจากแอ่งน้ำผ่านไปตามคลองเดิมซึ่งอยู่ระหว่างบ้านปากด่าน และวัดชมภูราย ซึ่งปัจจุบันร้างไปแล้ว ครั้นเวลาผ่านไป ความแรงของสายน้ำที่ลัดผ่านไหลตรง ทำให้คลองกว้างขึ้น สภาพความเป็นเกาะจึงเห็นเด่นชัดเรียกกันในขั้นแรกว่า “เกาะศาลากุน” ตาม ชื่อวัดบนเกาะนี้ คือวัดศาลากุนต่อมาเมื่อได้ตั้งอำเภอปากเกร็ดแล้ว เกาะศาลากุนจึงได้มีฐานะเป็นตำบล เรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด ย่านเกาะเกร็ดเป็นชุมชนที่ม่ความเจริญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นทั้งชุมทางการค้าขาย และเป็นที่ตั้งด่านตรวจเรือต่างๆ ที่จะเดินทางผ่านไปมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแม้ในปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกบริเวณลัดเกร็ดตอนใต้ว่าบ้านปากด่าน ประจักษ์พยานที่บ่งชี้ถึงความเจริญแต่เก่าก่อนคือ วัดต่างๆบนเกาะเกร็ด ล้วนมีความสวยงาม และลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย อยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น

เครื่องปั้นดินเผา



แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดมี 2 ประเภท อย่างแรกคือ เครื่องใช้เช่นโอ่ง อ่าง ครก กระปุก อีกประเภทหนึ่งคือเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามที่เรียกว่า ลายวิจิตรที่เป็นทรงโอ่งและ หม้อน้ำซึ่งเน้นความงามองรูปทรงและการสลักลวดลาย เกาะเกร็ดเคยเป็นแหล่งผลิตภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันป้อนให้แก่ผู้ใช้แพร่ หลายไปทั่ว แต่ในปัจจุบันไม่สามารถสู้กับสินค้าอุตสาหกรรมได้ ในปัจจุบันความต้องการของตลาดเปลี่ยนไปการผลิตเครื่องปั้นดินเผา จึงเน้นไปทางของที่ระลึก และของตกแต่งบ้าน โอ่ง มีโอ่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และโอ่งขนาดกลาง มีชื่อเรียกต่างกันไป อ่าง มีอ่างขนาดต่างๆกันและมีชื่อเรียกต่างกัน เรียงตามขนาดดังนี้ - อ่างกะเทิน มีขนาดใหญ่สุด ใช้สารพัดประโยชน์ - อ่างฮร็อก ใหญ่รองลงมา - อ่างฮแร็ก - อ่างใน 1 อ่างใน 2 อ่างใน 3 อ่างใน 4 ไล่ ขนาดลงมา - อ่างหมา ไว้ใช้ป้อนข้าวเจ้าของชืออ่าง แต่ใช้ประโยชน์อื่นๆได้เช่นกัน -อ่างแมว หรืออ่างตีนตู้ ชาวบ้านชอบนำไปรองตู้กับข้าวเพื่อไม่ให้มดขึ้น กระปุก กระปุกจาโต หรือ กระปุกตีนอิฐ หรือกระปุกเป็ด ที่มีหลายชื่อเพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มนำไปใช้ประโยชน์ต่างกัน ถ้าลูกค้าทางหัวเมืองชายทะเลจะซื้อไปใช้อาหารเป็ด ส่วนลูกค้าทางเมืองปทุม สามโคก ซึ่งมีอาชีพทำอิฐขายจะซื้อไปใส่น้ำไว้ล้างมือ กระปุกน้ำตาล ไว้ใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึกตามชื่อ กระจาวี ไว้ใส่ปูน กระปุกดับถ่าน ครก ครกเกาะเกร็ด แยกตามลักษณะรูปทรงออกเป็นสองแบบคือ ครกธรรมดากับครกตีนช้าง ครกธรรมดาจะมีลักษณะทรงเอวคอด ส่วนครกตีนช้างจะมีส่วนกว้างลักษณะเหมือนตีนช้าง โอ่ง, หม้อ ลายวิจิตร เครื่องปั้นประเภทสวยงามมีหลายรูปทรง หลายประเภทลายแล้วแต่ช่างจะสร้างสรรค์ แต่รูปทรงที่มีแบบหลักๆคือ - โอ่งทรงสูง - โอ่งทรงโกศ - โอ่งทรงแป้น - โอ่งทรงโหล

หันตรา



เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุนมาก แต่จะต่างกันก็ตรงที่หันตราจะมีน้ำค้างของไข่ขาว (มีลักษณะเป็นเส้นๆสีขาวๆ)เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความอร่อย ซึ่งขนมหันตรานี้เป็นขนมที่เลื่องชื่อของเกาะเกร็ดมานาน





วัดปรมัยยิกาวาส
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อวัดปากอ่าว มีอายุ 200 ปี เป็นวัดรามัญมาแต่โบราณ เรียกตามภาษารามัญว่า เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง แปลว่า วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว ในปี พ.ศ. 2417 พระสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ได้ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน ณ.วัดปากอ่าวครั้นเสด็จพระราชทานกฐินแล้ว เสด็จพระราชดำเนินรอบพระอารามทรงเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีแต่ ทรุดโทรมกว่าพระรามอื่นๆจึงทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาให้ดีขึ้น เพื่อสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าบรมหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดา- รัตนราชประยูรผู้ทรงอภิบาลเลี้ยงดูพระราชมารดาและพระองค์แต่ยัง ทรงพระเยาว์ถวาย เป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงมีหมานกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อประกอบราชกุศล แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระอารามนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรว่า “วักปรมัยยิกาวาศ” (บรม+อัยยิกา+อาวาศ) แปลว่า วัดของยาย ภายหลังเขียนเป็น วัดปรมัยยิกาวาส สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดปรมัยฯ-พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยฯ-เป็นแหล่งศิลปกรรมเกี่ยวกับพระศาสนา-โรงทำลูกหนู-สวกภาษามอญ-เป็นสำนักเรียนบาลีรามัญ-เป็นศูนย์รวมของพระสงฆ์และชาวบ้าน

การเดินทาง


- บริการเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) ข้ามไปยังวัดปรมัยยิกาวาส (จากวัดวัดปรมัยยิกาวาสสามารถเดินเท้าไปยังวัดอื่นๆได้)ราคาอยู่ที่คนละ 2 บาท มีบริการเรือตั้งแต่ 5.00-21.30 น.- บริการเรือเช่าเหมาไปยังเกาะเกร็ดบริษัท มิตรเจ้าพระยา จำกัด ออกเดินทางจากท่าเรือท่าช้างวังหลวง ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น. บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ออกเดินทางจากท่ามหาราช ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 15.00 น. ราคาต่อท่านประมาณ 150 - 250 บาท บริการ เรือหางยาวเหมาลำ ชมรอบเกาะ ลำละ 500 บาท ถ้าเข้าคลองขนมหวาน ด้วยราคา 700 บาท แต่ถ้าเช้าเรือเล็กจากท่าปากเกร็ดมาเฉพาะคลองขนมหวาน 150 - 200 บาท- การเช่าเรือเที่ยวรอบเกาะเกร็ด ราคามีตั้งแต่ 350-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและขนาดของเรือ ติดต่อที่ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาส


นั่งเรือรอบเกาะเกร็ด

มีเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ ข้ามมาที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส หากจะนั่งเรือรอบเกาะ มีเรือหางยาว นั่งได้ประมาณ 8 คน เหมาลำลำละ 500 บาท แต่แวะคลองขนมหวาน ราคา 700 บาท เรือเล็กเช่าจากปากเกร็ด เข้าคลองขนมหวาน ราคา 150 – 200 บาท
ล่องคลองบางใหญ่จากท่าน้ำนนทบุรี มีเรือท้องแบนวิ่งเส้นทางนนทบุรี - คลองอ้อม - คลองใหญ่ ตั้งแต่ 4.00 - 20.00 น. ค่าโดยสาร 6 บาท ใช้เวลา 15-20 นาทีปัญหาหรือผลกระทบจากการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด
ส่วน มากจะเป็นปัญหาทางอ้อมไม่ค่อนรุนแรงเท่าไหร่ ถึงแม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะมากก็จริงแต่คือจะทยอยมาตลอดทั้งวันอาจจะมีบ้าง บางเรื่อง เช่น1.เรื่องขยะภายในเกาะคือมีนักท่องเที่ยวมากขยะก็จะเยอะตามนักท่องเที่ยว2.เรื่อง ที่มีมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาขโมยสิ่งของมีค่า เราก็ควรระวังตัวไว้เพราะว่ามีนักท่องเที่ยวเยอะมากเราไม่รู้ว่าใครปลอมตัว เข้ามาขโมยของเรา3.การเดินทางอาจจะไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่สำหรับคนแก่ หรือเด็ก เพราะว่าต้องนั่งเรือข้ามไป4.ช่วงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมทั้งเกาะ นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าไปได้5.นักท่องเที่ยวบางคนทิ้งขยะลงไปในน้ำ อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียได้

เกาะเกร็ด เกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้น น้ำเซาะตลิ่ง ทำให้คลองขยายจนกลายเป็นเกาะเกาะเกร็ดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวไทย เชื้อสายมอญ การคมนาคมบนเกาะจะใช้จักรยาน วัดวาอารามต่างๆบนเกาะเกร็ดส่วนมากจะเป็นวัดมอญเกาะ เกร็ด มีความขึ้นชื่อในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา ทอดมันหน่อกะลา และบ้านขนมหวาน โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา อันจะเห็นได้จาก ตราสัญลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรี ที่เป็นหม้อน้ำลายวิจิตร ซึ่งบ่งบอกว่าคนในจังหวัดยึดการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพ และมีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณการ เดินทางจะต้องลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส โดยที่คนส่วนใหญ่จะไม่พลาดที่จะนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๑๑ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระหว่างประเทศ
1.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยรัฐ


ก.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับโลกโดยภาครัฐ
1.1. องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : WTO)
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาล เริ่มดำเนินการในสถานภาพขององค์การท่องเที่ยวโลกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มกราคม ปี 2518 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และมีสำนักงานย่อยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกสามัญขององค์การตั้งแต่ปี 2495 เป็นต้นมา


องค์กรและหน้าที่ขององค์การท่องเที่ยวโลก ได้แก่
1) สมัชชา เป็นองค์กรควบคุมการปฏิบัติงานขั้นสูงสุดขององค์การท่องเที่ยวโลก กำหนดการประชุม 2 ปี ต่อ 1ครั้ง
2) คณะมนตรีบริหาร เป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาและกำหนดมาตรการในการดำเนินงานขององค์การให้สำเร็จลุล่วงไปตามมติและข้อเสนอแนะของสมัชชากรรมการ ของคณะมนตรีบริหารแต่งตั้งโดยสมัชชา และต้องเป็นสามัญสมาชิก มีกรรมการทั้งหมด 26 คน มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง
3) สำนักงานเลขาธิการ เป็นหน่วยงานที่มีเลขาธิการเป็นผู้ควบคุมการดำเนินทางด้านวิชาการและธุรการทั่วไป
4) สำนักงานเลขาธิการภูมิภาค เป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานเลขาธิการขององค์การ ประจำอยู่ภูมิภาคต่างๆ
5) คณะกรรมการธิการประจำภูมิภาค เป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ดำเนินงานตามโครงการของภูมิภาคให้สำเร็จลุล่วงไปตามมติ
1.2. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(International Civil Aviation Organization: ICOA)
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา จัดตั้งขึ้นในปี 2489 ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก
ข.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคโดยภาครัฐ
องค์กรที่สำคัญได้แก่ องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงปารีสประเทศประเทศฝรั่งเศล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายที่สามารถจะบรรลุถึงจุดสุดยอดในการค้ำจุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ระหว่างประเทศสมชิกขององค์กร ปัจจุบันประเทศสมาชิกของ OECD มีทั้งหมด 31 ประเทศ
ค.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับอนุภูมิภาคโดยภาครัฐ
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2) โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุทวีปบังคลาเทศ-อินเดีย-เมียนม่าร์-ศรีลังกา-ไทย
3) โครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา (Mekong-Ganga Cooperation)
4) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
5) คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน
2. องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
ก. องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับโลดโดยภาคเอกชน
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (World Travel and Tourism Council : WTTC) ก่อตั้งในปี 1990 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และมรสมาชิก 100 ประเทศ
2) สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ในกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการขนส่งทางอากาศที่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้องตามหลักเศรษฐกิจ ปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา มีสมาชิก 274 สายการบิน
3) สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ (International Congress and Convention Association : ICCA ) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1963 ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีสมาชิก 80 ประเทศ
4) องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว (Tourism Concern)ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1989 มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
5) สหพันธ์สมาคมบริษัทนำเที่ยวนานาชาติ (Universal Federation of Travel Agent : UFTAA) ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966
ข. องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคโดยภาคเอกชน
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (The Pacific Asia Travel Association : PATA) ก่อตั้งขึ้นที่มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2494 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครซานฟรานซิกโก ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการอยู่ที่กรุงเทพฯ
2) สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเอเชียตะวันออก (East Asia Travel Association : EATA) ก่อตั้งในปี 2509 โดยรวบรวมประเทศต่างๆที่อยู่ในเส้นทางการบินสายตะวันออกไกลเข้าด้วยกัน
3) สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association: ASEANTA) เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1971
4) สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา (American Society of Travel Agents : ASTA) ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่มลรัฐนิวยอร์ค เมื่อปี ค.ศ. 1931


องค์กรในประเทศไทย
1. องค์กรของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ก. องค์กรของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยตรง
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) สำนักนายกรัฐมนตรี
2) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 5 หมวด 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545
3) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในปัจจุบัน ททท. สังกัดอยู่ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หลังจากที่อยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่เริ่มจัดตั้งองค์กร
4) สำนักงานส่งเสริมกาจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน. –Thailand Convention and Exhibition Bureau- TCEB) จัดตั้งขึ้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545
ข. องค์กรของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยอ้อม
1. องค์กรที่กำกับดูแลด้านแหล่งท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2) กรมทรัพยากรธรณี
3) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)
4) กรมศิลปากร
5) กรมศาสนา
6) กรมชลประทาน
7) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.)
8) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9) กรมควบคุมมลพิษ
10) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
11) องค์การสวนสัตว์
12) องค์การสวนพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย
13) สำนักงานจังหวัด
14) สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
2. องค์กรที่กำกับดูแลด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กรมการขนส่งทางอากาศ
2) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
3) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด(มหาชน) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
5) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
6) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
7) กรมทางหลวง
8) กรมการขนส่งทางบก
9) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
10) การรถไฟแห่งประเทศไทย
11) บริษัท ขนส่ง จำกัด
12) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าส่วนนครหลวง
13) การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวง
14) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3. องค์กรที่กำกับดูแลด้านสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
2) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
5) กรมศุลกากร
4. องค์กรที่กำกับดูแลด้านบริการทางการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กองกำกับการตำรวจท่องเที่ยว (บก.ทท.)
2) สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เป็นหน่วยงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535
3) กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
4) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ศบท.)
5) ธนาคารและสถาบันการเงิน
6) กระทรวงสาธารณสุข
7) กรมสรรพากร
5. องค์กรที่กำกับดูแลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2. องค์กรของภาคธุรกิจเอกชน
หน่วงงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่
1. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents - ATTA)
2. สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association - TTAA)
3. สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. –The Association of Thai Tour Operators-ATTO)
4. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน. – The Association of Domestic Travel - ADT)
5. สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย(สมอ.- Professional Guide Association Thailand - PGA)
6. สมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สทภท.-Thai Federation of Provincial Tourist Association - TFOPTA)
7. สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.- Thai Ecotourism & Adventure Tourism Association - TEATA)
8. สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย(พาต้าไทย–PATA Thailand Chapter)
9. ไซท์ไทยแลนด์ แชพเตอร์ (Society of Incentive & Travel Executive - SITE)
10. สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (Thailand Incentive & Convention Association - TICA)
11. สมาคมโรงแรมไทย (Thai Hotels Association - THA)
12. สมาคมภัตตาคารไทย (Thai Restaurant Association - TRA)
13. สมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจ (สพจ.-The Thai Amusement and Leisure Parks - TAPA)
14. สมาคมดพื่อสวนสัตว์ไทย (Thai Zoo Association – T.ZA.) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542
15. สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ
16. ชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2540
17. สมาคมรถโดยสารไม่จำทาง (สสท. – The Tourist Transport Association - TTA)
18. สมาคมเรือไทย (Thai Boat Association) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535
19. สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย)(The Trade Exhibition Association (Thai)-TEA)ปัจจุบันมีสมาชิก 66องค์กร
20. สมาคมสปาไทย (Thai Spa Association) จัดตั้งขึ้นโดยมิได้หวังผลกำไล
21. หอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัด จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476
22. สภาอุตสาหกรรมทองเที่ยวแห่งประเทศไทย


ที่มา : เอกสารคำสอนประกอบวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่ ๑๐ กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้


๑. กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
๒. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
๓. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
๔. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

๑. กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป

มีกฎหมายสำคัญ จำนวน ๔ ฉบับ ได้แก่
๑.๑ พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒
๑.๒ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
๑.๓ พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔
๑.๔ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๔๖

๒. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
มีกฎหมายสำคัญ จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่
๒.๑ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒, ๒๕๒๓ และ ๒๕๔๒
๒.๒ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๕๔๘


๓. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
มีกฎหมายสำคัญ จำนวน ๑๗ ฉบับ ได้แก่
๓.๑ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
๓.๒ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และ ๒๕๔๖
๓.๓ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗, ๒๕๒๒ และ ๒๕๒๘
๓.๔ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔, ๒๕๒๒ และ ๒๕๒๕
๓.๕ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐, ๒๕๒๒ และ ๒๕๓๔
๓.๖ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๐
๓.๗ พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๘๕
๓.๘ พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. ๑๒๑
๓.๙ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
๓.๑๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
๓.๑๑ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และ ๒๕๓๕
๓.๑๒ พระราชบัญญัติสุสานและ ฌาปนสถาน พ.ศ. ๒๕๒๘
๓.๑๓ พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. ๑๒๘
๓.๑๔ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ และ ๒๕๒๘
๓.๑๕ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๑๒, ๒๕๑๒, ๒๕๒๒ และ ๒๕๓๕
๓.๑๖ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง
๓.๑๗ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘, ๒๕๒๕ และ๒๕๓๕ และ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒, ๒๕๓๕ และ๒๕๔๓

๔.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
มีกฎหมายสำคัญ จำนวน ๒๒ ฉบับ
๔.๑ พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕
๔.๒ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗
๔.๓ พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙, ๒๕๒๑, ๒๕๒๕ และ ๒๕๔๖
๔.๔ พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
๔.๕ พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘, ๒๕๓๗ และ ๒๕๔๔
๔.๖ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๓๕
๔.๗ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๒๐, ๒๕๓๔ และ๒๕๔๔
๔.๘ พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๔๘
๔.๙ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒
๔.๑๐ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และ ๒๕๔๑
๔.๑๑ พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๓
๔.๑๒ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ – ๒๕๔๖
๔.๑๓ พระราชบัญญัติจารจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๔๒
๔.๑๔ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๔๗
๔.๑๕ กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๕๙
๔.๑๖ พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๓
๔.๑๗ พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๕๔๐
๔.๑๘ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๖๓
๔.๑๙ พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๕๔๐
๔.๒๐ พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. ๒๕๒๒
๔.๒๑ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๔๒
๔.๒๒ พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๓๘
ที่มา : เอกสารประกอบคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่ ๑๒ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ การทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) เพื่อปรับปรุงสิทธิภาพของบริษัท มี ๒ รูปแบบ คือ
๑) การแลกเปลี่ยนข้อมูล (EDI) เป็นการจำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือแบบตัวต่อตัว
๒) การใช้บริการตู้จ่ายเงินสด (ATM) จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่

สาเหตุที่องค์กรต่างๆใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

๑) การจำหน่ายสินค้า ทำให้สินค้าถึงผู้บริโภคโดยตรง
๒) รายได้ ไม่ต้องผ่านตลาด รายได้เพิ่มขึ้น
๓) สามารถบริการลูกค้าได้ดีขึ้น
๔) ขนส่งสินค้าได้เร็วมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

๑) ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ด้านการติดต่อสื่อสาร
- ด้านการขาย
๒) ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื่องจากความสนใจในการหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก กลุ่มประกอบการตัวแทนจำหน่ายทางด้านการท่องเที่ยว จึงประสบผลกระทบอย่างรุนแรง พวกเขาจึงสร้างระบบการจองต่างๆ ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต หรือ ปรับเปลี่ยนองค์กรให้เหมาะสม

การนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ได้ประโยชน์สูงสุด

๑. การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ถ้ามีการนำเสนอข้อมูลที่ดี โดยนำเสนอรูปภาพและบริการต่างๆ จะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจแก่ลูกค้า
๒. การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ถ้าข้อมูลที่มีความละเอียด เป็นระเบียบแบบแผน จะส่งผลดีต่อองค์กร เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะใช้ข้อมูล เพื่อมาเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับตนเอง
๓. การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต การเก็บข้อมูลที่ดี จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของกิจการ
๔. การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลูกค้าจะได้ทำธุรกรรมได้โดยปราศจากข้อผิดพลาด และสะดวกสบาย
ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่ ๑๓ แนวโน้มและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ความหมายและแนวคิด


การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีความจำเป็นในการรักษาความสมดุลของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

พิจารณาได้ 4 ประการคือ

1. การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
2. การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
4. การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ

1. เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
2.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
3.เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1. เพื่อให้การใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.เพื่อรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยวคงอยู่อย่างยั่งยืน
3.เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรการท่องเที่ยวในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1. อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี
2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย
3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม
4. การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว
5. ต้องนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น
6. การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น
7. ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
8. การพัฒนาบุคลากร
9. จัดเตรียมคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม
10.ประเมิน ตรวจสอบ และวิจัย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Eco tourism)
ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ คือ

1. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น
2. เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
3. มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
4. มีการจัดการด้านการให้ความรู้
5. มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
6. เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและความประทับใจ

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

1. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางยก ได้แก่ การเดินป่า การปีนเขา การศึกษาธรรมชาติ การส่องสัตว์ การดูนก การขี่ม้า นั่งช้าง เที่ยวถ้ำ เที่ยวที่น้ำตก เป็นต้น
2. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล ได้แก่ การดำน้ำดูปะการัง การล่องแก่ง การพยาเรือแคนู การท่องเที่ยวชมหมู่บ้านชาวประมง การเที่ยวชมป่าชายเลน เป็นต้น

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร(Agro tourism)
มีลักษณะสำคัญดังนี้

1. เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
2. เป็นการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
3. เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
4. เป็นการท่องเที่ยวที่มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
5. เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรในด้านของกระบวนการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
6. เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ การสร้างเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติท้องถิ่น
ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
แบ่งตามประเภทการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรได้ดังนี้

1. การกสิกรรม
- การทำนา
- การเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ การปลูกผักร่วมกับผลไม้
- การทำสวนผลไม้
- สวนไม้ดอกไม้ประดับ
- ศูนย์การศึกษาและการวิจัยทดลอง
- ตลาดการเกษตร
2. การประมง
- แหล่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ฟาร์มกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา
- การเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวประมง
3. การปศุสัตว์

แบ่งเป็น การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็ก และสัตว์ปีก
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

1. การเที่ยวชมสวนเกษตร
2. การนำเที่ยวเทศกาลงานวันเกษตร
3. การนำเที่ยวชมฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ
4. การนำชมการทำนาแบบดั้งเดิม
5. การนำชมหมู่บ้านชาวประมง
6. การพักแรมในหมู่บ้านเกษตรกร
7. การนำเที่ยวชมศูนย์ทดลองทางการเกษตรต่างๆ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Health tourism)

เป็นการท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว
มี 3 ประเภท คือ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว คือการเดินทางเพื่อรักษาโรคโดยมีจุดประสงค์จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือสถานรักษาอื่นๆ
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว คือการเดินทางมาพักผ่อนในที่ๆมีอากาศบริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยว เช่น การไปอาบน้ำแร่หรือสปา การนวดแผนโบราณ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมสุขภาพจิตเช่น นั่งสมาธิ การศึกษาธรรมะ เป็นต้น
ที่มา : เอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่ ๙ ผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



เนื่องจากการท่องเที่ยวได้ทำรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมหาศาล นโยบายส่งเสริยมการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐให้การสนับสนุน มาโดยตลอดแต่ถ้าพิจารณาในแง่มุมทรัพยากรธรรมชาติแล้วอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ส่งผลก่อให้เกิด ปรากฏการณ์ก่อให้เกิดความเสื่อมโสมของทรัพยากรธรรมชาติ และจากที่ประเทศต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมในระยะยาวอีกด้วย

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ

ด้านบวก

๑. ช่วยให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ ( Local Income ) กิจกรรมการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก บริการการขนส่ง บริการมัคคุเทศก์ ทำให้รายเกิดรายได้แก่คนในท่องถิ่นโดยร่วมเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงค่าครองชีพในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นสูงอีก
๒. ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล ( Government Receipt ) รัฐบาลมีรายได้จากนักท่องเที่ยวหลายทาง อาทิ การที่นักท่องเที่ยวซื้อสิ้นค้าและบริการในประเทศก็ต้องเสียภาษี การเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวของทางราชกาล เช่น พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน
๓. ช่วยให้เกิดการจ้างงาน ( Employment )ธุรกิจท่องเที่ยว อาทิ ที่พักแรม ร้านอาหาร บริการขนส่ง สถานบันเทิง ร้านจำหน่ายของที่ระลึก การนำเที่ยว
๔. ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ ( Creating new job )ชาวบ้านในท้องถิ่นเดิมอาจมีอาชีพทำนาทำไร่ เปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ท่องเที่ยว เช่น เมื่อทำนำไร้ก็มาทำเครื่องจักสาน เครื่องมือเครื่องใช้
๕. ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ ( Foreign Exchange Earning )เกิดขึ้นเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาตินำเงินตราเข้าประเทศทันทีที่มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ( Fresh Money )ในประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะเงินของสหรัฐอเมริกา เงินเยนญี่ปุ่น เงินปอนด์อังกฤษ จะมีค่าแลกเปลี่ยนในอัตราที่สูงมาก
๖. ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน ( Balance of Payment )หากประเทศใดมีแหล่งนักท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากจะมีแนวโน้มรายรับของประเทศมากเปรียบเทียบกับการส่งสิ้นค้าออกของประเทศ

ด้านลบ

๑. ค่าครองชีพของคนในพื้นที่สูงเพิ่มสูงขึ้น ( Increase of Living Expenses )เกิดความลำบากในการดำเนินชีวิต จาการนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปใช้ในสถานที่จำนวนมากก็จะส่งผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
๒. ราคาที่ดินแพงขึ้น เมื่อการท่องเที่ยวเข้ามาทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว
๓. มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอยสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ
๔. ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ การเดินทางท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศทำให้เงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศจำนวนมหาศาล
๕. รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล ต้องสามารถอดทนให้อยู่รอดในช่วง Low season หรือการทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวตลอดปี

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

ด้านบวก

๑. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคลซึ่งจะช่วยลดความตรึงเครียดจากการทำงานพร้อมๆกับการแสวงหาความรู้ในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยว
๒. ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลิกในชาติต่างๆ
๓. ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ล่ะท้องถิ่นที่เดินทางไปถึงทำให้ทราบถึงอารยธรรมที่แตกต่างกันออกไป
๔. มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น สืบเนื่องมาจากผลของเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ แก่ชุมชนท้องถิ่นทั้งการจ้างงานในโรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง บริการนำเที่ยว
๕. คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง
๖. ช่วยเสริยมอาชีพให้แก่คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
๗. ช่วยให้สภาพแวดล้อมท้องถิ่นดีขึ้น ถ้าสถานที่ท่องเที่ยวสกปรก เสื่อมโทรม ความไม่ปลอดภัยก็จะไม่มีนักท่องเที่ยวเที่ยวชม
๘. การเดินทางท่องเที่ยวจะช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์ ดังคำกล่าวที่ว่า “การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ”
๙. การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวง

ด้านลบ

๑. ความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว บางครั้งนักท่องเที่ยวทำให้คนในท้องถิ่นรู้สึกว่าตนเองเป็นคนชนบทต่ำต้อย
๒. การมีค่านิยมผิดๆ การเลียนแบบนักท่องเที่ยว เช่น ไม่อยากทำงาน อยากไปเที่ยวแบบนักท่องเที่ยว
๓. โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง
๔. การลบเลือนอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่น ก่อนที่จะมีการท่องเที่ยวเข้ามาในท้องถิ่นชาวบ้านส่วนมากทำไร่ทำนา
๕. ก่อให้เกิดปัญหาการก่ออาชญากรรม เช่น การทะเลาะวิวาทกันในสถานที่บันเทิง การโจรกรรม
๖. ปัญหาโสเภณีและเพศพาณิชย์ ถูกขนานนามว่าเป็น อาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
๗. ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
๘. ปัญหาความไม่เข้าใจกันและการขัดแย้งระหว่างคนในท้องถิ่น เมื่อมีการท่องเที่ยวเข้ามาในท้องถิ่น
๙. ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
๑๐.ปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติดเข้ามากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือการขายยาให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

ด้านบวก

๑. เกิดงานเกี่ยวกับเทศกาลท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนรางจางหายไป
๒. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวมากขึ้น วัฒนธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนาค่อนข้างมาก
๓. ช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ประเทศ
๔. เกิดความเชื่อถือของชาวบ้าน อาทิ เรื่องบาป บุญ คุณ โทษ

ด้านลบ

๑. คุณค่าของงานศิปะลดลง
๒. วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำมาเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นกาตอบสนองแก่นักท่องเที่ยว
๓. เกิดการตระหนักด้านวัฒนธรรม ( Culture Shock )
๔. การยอมรับและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ( Demonstration Effect )

ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่ ๘ ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม คือ การประกอบกิจการให้บริการด้านอาหาร และเครื่องดื่มแก่นักท่องเที่ยว เพื่อความอิ่มหนำสำราญ ในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มแบ่งออก ๗ ประเภท


๑) ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants) เน้นความสะดวก ราคาถูก ปริมาณมากๆ แต่จะไม่มีบริการขายแอลกอฮอล์ ดำเนินการในรูปแบบการรับสิทธิ์ (Franchising)
๒) ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shops) บริการขายอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย์ แซนด์วิส สลัด
๓) ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets) เน้นการบริการตนเอง สามารถกินได้ทุกอย่างในราคาเดียว มีทั้งในร้านอาหารทั่วไป และภัตตาคารในโรงแรมต่างๆ
๔) ธุรกิจคอฟฟี่ช้อพ (Coffee shops) เน้นบริการอาหารอย่างรวดเร็วอยู่ที่เคาเตอร์ ราคาไม่แพงทำเลจะเป็นอาคารกึ่งสำนักงาน
๕) ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias) เน้นบริการตนเอง รายการอาหารค่อนข้างจะน้อย
๖) ธุรกิจอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants) เน้นบริการระดับสูง กลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานการบริการของพนักงาน สถานที่ตกแต่งหรูหรา
๗) ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurants) เน้นบริการอาหารประจำถิ่น ตกแต่งจุดเด่นร้านเป็นลักษณะเด่นของแต่ละชาติ

อาหารไทย





๑) ภาคเหนือ ได้แก่ ขันโตก รสชาติจะไม่นิยมหวาน เพราะได้ความหวานจากการต้มพืชผัก น้ำพริกหนุ่ม มีของแนม คือ แคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว น้ำพริกถั่วเน่า
๒) ภาคใต้ ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงเหลือง แกงไตปลา จะเน้นเครื่องเทศ ขมิ้นดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลและรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
๓) ภาคอีสาน ได้แก่ เนื้อที่นำมาถนอมอาหาร ปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู และสัตว์อื่นๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ
๔) ภาคกลาง
แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท
๑. อาหารที่รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น แกงกะทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
๒. อาหารที่ใช้ความประณีตในการทำ เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ ลูกชุบ ข้าวแช่
๓. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือต้องแนมด้วยหมูหวาน ไข่เค็ม
๔. อาหารว่างและขนม เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ช่อม่วง ข้าวตัง หน้าตั้ง

การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food And Beverage Service Operations) แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท

๑) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง เช่น ไก่ทอด สลัด ไอศกรีม
๒) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
๓) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูง
๔) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่สามารถทิ้งได้ เมื่อใช้งานเสร็จ เพื่อลดต้นทุนการทำความสะอาด
๕) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงไม่ซับซ้อน ทำให้พนักงานบริการได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะอาหารที่มีการบริการในโรงแรม

๑. อาหารเช้า (Breakfast) บริการในช่วง ๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. แบ่งเป็น
แบบยุโรป มีน้ำ ผลไม้ ขนมปัง แยม เนย หรือกาแฟเท่านั้น ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
แบบอเมริกัน มีน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน ตามด้วยชา กาแฟ
๒. อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) บริการในช่วง ๐๙.๓๐-๑๑.๓๐ น. อาหารที่หนักกว่ามื้อเช้า
๓. อาหารกลางวัน (Lunch) บริการในช่วง ๑๑.๓๐-๑๔.๐๐ น. มีเนื้อสัตว์ มักตามใจลูกค้าสั่งตามราคาที่แจ้งไว้ หรือจัดแบบรายการอาหารชุด


แบ่งออกเป็นดังนี้
๑) อาหารจานเดียว
๒) อาหารกลางวันประเภทสองจาน
๓) อาหารกลางวันประเภทสามจาน
๔) อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์
๔. อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) บริการ ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ น. มี ชา กาแฟ เค้ก ขนมอื่นๆ และผลไม้

๕. อาหารเย็น (Dinner) เริ่มบริการ ๑๙.๐๐ น. จะเป็นมื้อที่หนักที่สุดของแต่ละวัน มี

๑) อาหารประเภทเรียกน้ำย่อย ได้แก่ อาหารจำพวกออร์เดิฟ
๒) ซุป
๓) อาหารนำอาหารหลัก ได้แก่ อาหารทะเล
๔) อาหารหลัก ได้แก่ อาหารจำพวกไก่ หมู เนื้อ เป็ด อาหารจำพวกแป้ง เช่น มันฝรั่ง
๕) ของหวาน ได้แก่ ผลไม้ ขนม หรือ ไอศกรีม

๖. อาหารมื้อดึก เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังอาหารมื้อเย็น หรืออาหารหนัก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างแก่ผู้บริโภคและบริการแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่
๑) ห้างสรรพสินค้า
๒) ศูนย์การค้า
๓) ร้านค้าปลอดอากรและร้านปลอดภาษี

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก คือ การประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน


ธุรกิจนันทนาการ

ธุรกิจนันทนาการ คือ การประกอบธุรกิจการให้บริการ เพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลิน สำหรับคนเดินทาง หรือนักท่องเที่ยว

๑) ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. สวนสนุก
๒. สวนสุกรูปแบบเฉพาะ
๒) ธุรกิจบันเทิง


ธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ

๑) ธุรกิจการจัดประชุมสัมมนา
๑. การประชุมสัมมนาภายในประเทศ
๒. การประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ
๒) ธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการและสินค้า
๓) ธุรกิจเช่าซื้อ


การจัดการความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ประเภทความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

๑) ภัยในที่พัก
๒) ภัยจากการเดินทาง
๓) ภัยจากการท่องเที่ยว สาเหตุ คือ

๑. อาชญากรรม
๒. อุบัติเหตุ
๓. สาธารณสุข
๔. ภัยธรรมชาติ
๕. การหลงทาง
๖. พืชและสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว
ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๗ ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

Travel Agency (Travel Agency.) .

Retail business is approved . To represent .
Sell tourism products . And assist in placing რ.Travel through the customers .



Travel agent . Travel Agency is the owner or consultant here .

Background .

In the past, people who want to travel Tend to buy a tourism product directly to retailers to facilitate the acquisition had happened with Thomas Cook open TRUST แื Web Agency for the first time in the Year 1845 in England . The customer must be Minute Travel Agency has become part of tourism .

Role of the Travel Agency .


1 . provide price or rate of tourism products such as airplane tickets . Hotel room rates .
2 . to reserve plane tickets reservation .
3 . Payment to Travel Agency accredited by the ARC will be allowed to receive payment for tickets every week will be deducted commission (commission) 10% for the Travel Agency .
4 . to send tickets or documents related to travel .
5 . assistance clients in purchasing and other tourism services .
6 . the assistance of the ticket purchased .
7 . the plane tickets and other documents .

The benefits of using the service . Travel Agency .


1 . is seeking the right products and know better than issues .
2 . can offer or find the best prices .
3 . help save time and trouble .
4 . help solve the problem when errors or problems .
5 . help looking for the best products and services to customers.
6 . to introduce tourist attractions better .

Type of Travel Agency .


1. since the original (A Conventional Agency) tend to sell tourism products and services the full range . Travel form can also be divided into network and independent franchisees .
2 . for the sale of Internet (online Agencies).
3 . for the specialization (Specialized Agencies).
4 . Type of housing (home-based Agencies).

Tour (Tour operator).


Means business Create a package tour or organized tour .
Tour refers to forms of tourism planning in advance . And prepayment.

The benefits of using travel agent services .


1 . Save time and money .
2 . attain
3 . have new friends .
4 . the peace of mind and feel secure .


Type of tour .


1 . Tour Independent (Independent tour).
2 . tour without the guide (Hosted tour).
3 . tour with the tour (Escorted tour).

Source: Catechism of the document . Tourism industry . Pundit University .

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทความปินโต

ประวัติของปินโต


ปินโตเป็นชาวโปรตุเกส เกิดในครอบครัวยากจน เขาออกเดินทางผจญภัยไปที่เมืองดิว ประเทศอินเดีย เอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไสนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอิยเดียตะวันออก ปัจจุบันคือน่านน้ำอินโดนิเซีย

เมื่อ เขาเดินทางกลับมาที่โปรตุเกส จึงเขียนหนังสือชื่อว่า "Peregrinacao" และถูกตีพิมพ์หบังจากที่เขาถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๕๘๓


งาน เขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๖๑๔ และแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ใน ค.ศ. ๑๙๘๓ กรมศิลปากรได้เผยแผ่บันทึกของปินโตในบางส่วน ชื่อว่า " การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. ๑๕๓๗ - ๑๕๕๘ " แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมา กรมศิลปากร ร่วมกับ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแผ่อีกครั้ง ในปี ค.ศ.๑๙๘๘ โดยแปลจากหนังสือชื่อ " Thailand and Portugal : ๔๗๐ Years of Friendship"

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโต นับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับ ทรัพยากรการ ทหารวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อกฎหมาย และเรื่องราวในราชสำนักสยาม กลางคริสต์ศตวรรษที่๑๖และมักจะถูกอ้างอิงเสมอ เมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกส ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ. ๑๕๔๓ - ๑๕๔๖) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยาม กับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ. ๑๕๔๗ (พ.ศ. ๒๐๙๑)

เรื่องราวในหนังสือ "Peregrinacao" สอดคล้องกับงานเขียน ของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน เช่น การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส ซึ่งเคยถูกจองจำ และรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียน ของจูอาว เดอ บารอสเช่นกัน เป็นต้น

นักเขียนทั้งหลายต่างก็พากันเห็นว่า งานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจ เกินกว่าความเป็นจริง ตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่หลักฐานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีคำถามและข้อสงสัยต่างๆในหลักฐานนั้น

งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชเพราะบันทึกของเขา เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำ เมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่ง

ที่มา : เอกสารประกอบคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๖ ที่พักแรม



ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในต่างประเทศ
ในทวีปยุโรปและอเมริกา ที่พักแรมเกิดจากความต้องการของนักเดินทางที่ไม่มีที่พักอาศัย ไม่สามารถไป-กลับได้ ในเวลาหนึ่งวัน รูปแบบที่พักพัฒนาตามความเจริญของเศรษฐกิจ ระบบขนส่งคมนาคม
ยุคแรกของที่พักแรมนั้น ให้เพื่อบริการการพักผ่อนเท่านั้น ต่อมากลายเป็น Coaching Inn ที่พักตามเส้นทางถนนและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ
๓ ศตวรรษที่ ๑๘ รูปแบบที่พักได้เจริญเติบโตขึ้น บริเวณสถานีปลายทางและเมืองท่า มีการออกแบบให้เป็นโรงแรมรถไฟ (Railway Hotels) ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองตากอากาศได้สะดวกมากขึ้น ที่พักแบบตากอากาศ หรือรีสอร์ท (Resort) จึงขยายตัวมากในยุโรปและอเมริกา

Hotel
โรงแรม (Hotel) เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมในปัจจุบัคำว่า Hotel มาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น แบบแผนการดำเนินงานการโรงแรมมาตรฐานสากลส่วนใหญล้วนมีต้นแบบจากประเทศในยุโรปและอเมริกา
กลุ่มโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น


ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย



สมัยอยุธยา : เพื่อบริการพ่อค้า ทูต ผู้เผยแพร่ศาสนา บริเวณวัดเสาธงทองตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี พระวิหาร
เดิมร้างขึ้นเพื่อเป็นสุเหร่า ตามแผนที่ของฝรั่งเศสระบุว่า เป็นที่พักของชาวเปอร์เซีย
สมัยรัตนโกสินทร์ : เพื่อบริการนักเดินทางชาวตะวันตก อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวตะวันกเข้ามาจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ถนนเจริญกรุงตอนใต้จึงเป็นย่านที่พักของชาวตะวันตกในกรุงเทพฯยุคแรก

กิจการโรงแรมที่สำคัญในอดีตของประเทศไทย



๑) โอเรียนเต็ลโฮเต็ล - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติ เป็ยเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว ปัจจุบัน
กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

๒) โฮเต็ลหัวหิน - หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างในมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดให้บริการตามแบบโฮเต็ลในยุโรป ต่อมาให้เอกชนปรับปรุง และเช่าดำเนินกิจการ เป็นโรงแรมโซฟิเทลหัวหิน ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

๓) โฮเต็ลวังพญาไท - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไท(เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้งดงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

๔) โรงแรมรัตนโกสินทร์ - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล บนถนนราชดำเนินกลางใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา ใช้รับรองแขกเมืองสำคัญ และเป็นที่ชุมนุมของชาวสังคมยุคนั้น ต่อมาให้เอกชนเช่าดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมรอยัล ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่
กลุ่มโรงแรมภายในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี, เซ็นทรัล, อมารี, อิมพีเรียล

พระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ระบุว่า "โรงแรม" คือ สถานที่ที่พัก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทางธุรกิจ ให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทนและไม่คิดเป็นรายเดือน

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม

๑. ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ำพัก
๒. ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก

๓. ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของผู้พัก
๔. ความเป็นส่วนตัว
๕. บรรยากาศตกแต่งสวยงาม

๖. ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม



แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) โรงแรม
เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม มีดังต่อไปนี้

- ด้านที่ตั้ง : เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจ
- ด้านขนาด : พิจารณาจากจำนวนห้องพักแรม
- ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก : พิจารณาจากกลุ่มผู้พักส่วนใหญ่ว่มีจุดประสงค์ใด ซึ่งจะส่งต่อกิจกรรมบริการ

- ด้านราคา : พิจารณาจากอัตาห้องพัก โดยเปรียบเทียบระดับราคาเฉลี่ยของกิจการภายในเขตพื้นที่ หรือประเทศ
- ด้านระดับการบริการ : พิจารณาจากความครบครันในการบริการ
- ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์ : ระดั
บดาวในแต่บะโรงแรม (๑ - ๕ ดาว)
- ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร : แบ่ง ๒ กลุ่ม คือ โรงแรมอิสระ และโรงแรมจัดการแบบกลุ่ม

๒) ที่พักนักท่องเที่ยว


- บ้านพักเยาวชน : เป็นที่พักราคาประหยัด เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเดินทางท่องเที่ยว
- ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด : โดยเจ้าของบ้านแบ่งห้องพักว่างให้เช่าและจัดอาหารเช้าไว้บริการ

- ที่พักริมทางหลวง : โมเต็ล (Motel) เป็นที่พักขนาดเล็กตั้งอยู่ริมทางหลวงสายหลัก
- ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก : คล้ายโรงแรม เป็นธุรกิจที่
เติบโตและได้รับความนิยมในอเมริกา
- เกสต์เฮ้าส์ : เป็นที่พักขนาดเล็ก ราคาประหยัด มั
กตั้งอยู่ในชุมชน
- อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพ
าร์ตเมนต์ : เป็นที่พักบริการห้องชุดสำหรับผู้พักระยะยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี เน้นบริการคล้ายโรงแรม
- ที่พักกลางแจ้ง : เป็นที่พักแบบประหยัดที่สุดในประเทศตะ
วันตก จัดพื้นที่กลางแจ้งสำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมใกล้ชิดธรรมชาติ
- โฮมสเตย์ : เป็นที่พักพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะพักรวมกับเจ้าของบ้าน

แผนกงานในโรงแรม
แบ่งเป็นแผนกงานสำคัญ ดังนี้
๑. แผนกงานส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก
๒. แผนกงานแม่บ้าน การจัดเตรียมห้องพักแขก ทำความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ ซีกรีด จัดดอกไม้
๓. แผนกอาหารและเครื่องดื่ม รับผิดชอบเรื่อง
อาหารและการบริการอาหาร เครื่องดื่ม
๔. แผนกขายและการตลาด รับผิดชอบวางแผนตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ
๕. แผนกบัญชีและการเงิน ดูแลจัดทำบัญชีและคว
บคุมการเงินของโรงแรม
๖. แผนกทรัพยากรมนุษย์ ในบางกิจการขนาดเล็ก จะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก

-
Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่าง
ประเทศ จะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว


- Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตียงเดี่ยว ๒ เตียง ตั้งเป็นคู่วางแยกกัน


- Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ ๒ คน บางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียว เพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้


- Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ ๒ ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง


ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์