วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทความปินโต

ประวัติของปินโต


ปินโตเป็นชาวโปรตุเกส เกิดในครอบครัวยากจน เขาออกเดินทางผจญภัยไปที่เมืองดิว ประเทศอินเดีย เอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไสนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอิยเดียตะวันออก ปัจจุบันคือน่านน้ำอินโดนิเซีย

เมื่อ เขาเดินทางกลับมาที่โปรตุเกส จึงเขียนหนังสือชื่อว่า "Peregrinacao" และถูกตีพิมพ์หบังจากที่เขาถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๕๘๓


งาน เขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๖๑๔ และแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ใน ค.ศ. ๑๙๘๓ กรมศิลปากรได้เผยแผ่บันทึกของปินโตในบางส่วน ชื่อว่า " การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. ๑๕๓๗ - ๑๕๕๘ " แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมา กรมศิลปากร ร่วมกับ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแผ่อีกครั้ง ในปี ค.ศ.๑๙๘๘ โดยแปลจากหนังสือชื่อ " Thailand and Portugal : ๔๗๐ Years of Friendship"

คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

บันทึกของปินโต นับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับ ทรัพยากรการ ทหารวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อกฎหมาย และเรื่องราวในราชสำนักสยาม กลางคริสต์ศตวรรษที่๑๖และมักจะถูกอ้างอิงเสมอ เมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกส ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ. ๑๕๔๓ - ๑๕๔๖) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยาม กับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ. ๑๕๔๗ (พ.ศ. ๒๐๙๑)

เรื่องราวในหนังสือ "Peregrinacao" สอดคล้องกับงานเขียน ของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน เช่น การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส ซึ่งเคยถูกจองจำ และรับราชการเป็นนายทหารในกรุงศรีอยุธยา ก็ได้รับการยืนยันในงานเขียน ของจูอาว เดอ บารอสเช่นกัน เป็นต้น

นักเขียนทั้งหลายต่างก็พากันเห็นว่า งานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจ เกินกว่าความเป็นจริง ตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่หลักฐานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีคำถามและข้อสงสัยต่างๆในหลักฐานนั้น

งานของปินโตถูกตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชเพราะบันทึกของเขา เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำ เมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่ง

ที่มา : เอกสารประกอบคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๖ ที่พักแรม



ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในต่างประเทศ
ในทวีปยุโรปและอเมริกา ที่พักแรมเกิดจากความต้องการของนักเดินทางที่ไม่มีที่พักอาศัย ไม่สามารถไป-กลับได้ ในเวลาหนึ่งวัน รูปแบบที่พักพัฒนาตามความเจริญของเศรษฐกิจ ระบบขนส่งคมนาคม
ยุคแรกของที่พักแรมนั้น ให้เพื่อบริการการพักผ่อนเท่านั้น ต่อมากลายเป็น Coaching Inn ที่พักตามเส้นทางถนนและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ
๓ ศตวรรษที่ ๑๘ รูปแบบที่พักได้เจริญเติบโตขึ้น บริเวณสถานีปลายทางและเมืองท่า มีการออกแบบให้เป็นโรงแรมรถไฟ (Railway Hotels) ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองตากอากาศได้สะดวกมากขึ้น ที่พักแบบตากอากาศ หรือรีสอร์ท (Resort) จึงขยายตัวมากในยุโรปและอเมริกา

Hotel
โรงแรม (Hotel) เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมในปัจจุบัคำว่า Hotel มาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น แบบแผนการดำเนินงานการโรงแรมมาตรฐานสากลส่วนใหญล้วนมีต้นแบบจากประเทศในยุโรปและอเมริกา
กลุ่มโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น


ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย



สมัยอยุธยา : เพื่อบริการพ่อค้า ทูต ผู้เผยแพร่ศาสนา บริเวณวัดเสาธงทองตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี พระวิหาร
เดิมร้างขึ้นเพื่อเป็นสุเหร่า ตามแผนที่ของฝรั่งเศสระบุว่า เป็นที่พักของชาวเปอร์เซีย
สมัยรัตนโกสินทร์ : เพื่อบริการนักเดินทางชาวตะวันตก อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวตะวันกเข้ามาจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ถนนเจริญกรุงตอนใต้จึงเป็นย่านที่พักของชาวตะวันตกในกรุงเทพฯยุคแรก

กิจการโรงแรมที่สำคัญในอดีตของประเทศไทย



๑) โอเรียนเต็ลโฮเต็ล - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติ เป็ยเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว ปัจจุบัน
กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

๒) โฮเต็ลหัวหิน - หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างในมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดให้บริการตามแบบโฮเต็ลในยุโรป ต่อมาให้เอกชนปรับปรุง และเช่าดำเนินกิจการ เป็นโรงแรมโซฟิเทลหัวหิน ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

๓) โฮเต็ลวังพญาไท - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไท(เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้งดงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

๔) โรงแรมรัตนโกสินทร์ - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล บนถนนราชดำเนินกลางใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา ใช้รับรองแขกเมืองสำคัญ และเป็นที่ชุมนุมของชาวสังคมยุคนั้น ต่อมาให้เอกชนเช่าดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมรอยัล ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่
กลุ่มโรงแรมภายในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี, เซ็นทรัล, อมารี, อิมพีเรียล

พระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ระบุว่า "โรงแรม" คือ สถานที่ที่พัก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทางธุรกิจ ให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทนและไม่คิดเป็นรายเดือน

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม

๑. ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ำพัก
๒. ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก

๓. ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของผู้พัก
๔. ความเป็นส่วนตัว
๕. บรรยากาศตกแต่งสวยงาม

๖. ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม



แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) โรงแรม
เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม มีดังต่อไปนี้

- ด้านที่ตั้ง : เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจ
- ด้านขนาด : พิจารณาจากจำนวนห้องพักแรม
- ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก : พิจารณาจากกลุ่มผู้พักส่วนใหญ่ว่มีจุดประสงค์ใด ซึ่งจะส่งต่อกิจกรรมบริการ

- ด้านราคา : พิจารณาจากอัตาห้องพัก โดยเปรียบเทียบระดับราคาเฉลี่ยของกิจการภายในเขตพื้นที่ หรือประเทศ
- ด้านระดับการบริการ : พิจารณาจากความครบครันในการบริการ
- ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์ : ระดั
บดาวในแต่บะโรงแรม (๑ - ๕ ดาว)
- ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร : แบ่ง ๒ กลุ่ม คือ โรงแรมอิสระ และโรงแรมจัดการแบบกลุ่ม

๒) ที่พักนักท่องเที่ยว


- บ้านพักเยาวชน : เป็นที่พักราคาประหยัด เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเดินทางท่องเที่ยว
- ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด : โดยเจ้าของบ้านแบ่งห้องพักว่างให้เช่าและจัดอาหารเช้าไว้บริการ

- ที่พักริมทางหลวง : โมเต็ล (Motel) เป็นที่พักขนาดเล็กตั้งอยู่ริมทางหลวงสายหลัก
- ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก : คล้ายโรงแรม เป็นธุรกิจที่
เติบโตและได้รับความนิยมในอเมริกา
- เกสต์เฮ้าส์ : เป็นที่พักขนาดเล็ก ราคาประหยัด มั
กตั้งอยู่ในชุมชน
- อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพ
าร์ตเมนต์ : เป็นที่พักบริการห้องชุดสำหรับผู้พักระยะยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี เน้นบริการคล้ายโรงแรม
- ที่พักกลางแจ้ง : เป็นที่พักแบบประหยัดที่สุดในประเทศตะ
วันตก จัดพื้นที่กลางแจ้งสำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมใกล้ชิดธรรมชาติ
- โฮมสเตย์ : เป็นที่พักพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะพักรวมกับเจ้าของบ้าน

แผนกงานในโรงแรม
แบ่งเป็นแผนกงานสำคัญ ดังนี้
๑. แผนกงานส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก
๒. แผนกงานแม่บ้าน การจัดเตรียมห้องพักแขก ทำความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ ซีกรีด จัดดอกไม้
๓. แผนกอาหารและเครื่องดื่ม รับผิดชอบเรื่อง
อาหารและการบริการอาหาร เครื่องดื่ม
๔. แผนกขายและการตลาด รับผิดชอบวางแผนตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ
๕. แผนกบัญชีและการเงิน ดูแลจัดทำบัญชีและคว
บคุมการเงินของโรงแรม
๖. แผนกทรัพยากรมนุษย์ ในบางกิจการขนาดเล็ก จะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก

-
Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่าง
ประเทศ จะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว


- Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตียงเดี่ยว ๒ เตียง ตั้งเป็นคู่วางแยกกัน


- Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ ๒ คน บางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียว เพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้


- Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ ๒ ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง


ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่ ๕ การคมนาคมขนส่ง



การคมนาคม (Transportations) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้

การคมนาคม ประกอบด้วย
๑) เส้นทาง (Way) แบ่งเป็น
- เส้นทางธรรมชาติ
- เส้นทางธรรมชาติปรับปรุง

- เส้นทางที่มนุษย์สร้างขึ้น
๒) สถานี (Terminal) คือ สถานที่ให้บริการแก่ยานพาหนะ ตามความต้องการเฉพาะด้าน

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
๑. ธุรกิจการขนส่งทางบก

เกิดจากการใช้แรงงานคนในการลากเก
วียน ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้แรงงานสัตว์ แล้วจึงเกิดการประดิษฐ์รถม้าขึ้นในปี ค.ศ. ๑๔๘๐ ที่ประเทศอักฤษ




ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๒๐ ได้ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้น จึงเกิดการทำเส้นทาง และยุคของเครื่องจักรไอน้ำ ในปี ค.ศ. ๑๘๒๕ เกิดการประดิษฐ์รถไฟขึ้น





ในประเทศไทย เริ่มมีรถลากเกวียนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




รถไฟ : จะเป็นที่นิยมมาก ในยุโรป เช่น รถไฟ TGV ประเทศฝรั่งเศส , รถไฟ Eurostar รัฐบาลฝรั่งเศสและอังกฤษ , รถไฟ X2000 Metroliner ประเทสสวีเดน , เอเชีย เช่น รถไฟ Shinkansen ประเทศญี่ปุ่น
รถยนต์ส่วนบุคคล : นิยมมากเนื่องจาก ประหยัดถ้าโดยสารได้หลายคน สะดวก รวดเร็ว คล่องตัว
รถเช่า : ที่ประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา นิยมเช่าเพื่อการเจรจาธุรกิจและท่องเที่ยว
รถตู้เพื่อนันทนาการ : นิยมมากในทวีปอเมริกาและยุโรป เพราะรถตู้ได้ถูกออกแบบคล้ายบ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทาง

รถโดยสาร : เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด ทำให้ผู้โดยส
ารนิยมใช้บริการ ยกเว้นในยุโรป

๒. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
เกิดจากการใช้ท่อนไม้มาต่อเป็นแพ และต่อมาก็ได้นำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เป็นลำเรือโดยมีรูปร่างคล้ายตะกร้าลอยน้ำ หลังจากนั้น ได้มีการพัฒนา นำ
หนังสัตว์มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือ เรียกว่า เรือหนังสัตว์




ในปี ค.ศ. ๑๗๗๒ ประเทศอังกฤษ มีการขนส่งผู้โดยสารทางเรือขึ้น โดยมีห้องสำหรับดื่มกาแฟไว้บริการ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. ๑๘๑๕ ได้มีบริการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญชื่อว่า เรือซีลอน วิ่งในเส้นทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองท่า ในอิตาลี กรีซ อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตก

ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ก็มีการต่อเรือสำราญที่สมบรูณ์แบบ ชื่อว่า Princesses Victoria Louis ซึ่งเป็นที่มาของเรือยอดซ์ เรือสำราญที่มีราคาแพง

กระทั่งในปี ค.ศ. ๑๘๑๙ มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรได้เป็นครั้งแรก คือ เรือกลไฟ Savannah แล่นระหว่างเมือง Savannah รัฐจอเจีย กับเมือง Liverpool ประเทศอังกฤษ

ในประเทศไทย การขนส่งทางน้ำเริ่มจากการใช้เรือทำการประมง และขนส่งสินค้าภายในประเทศ ต่อมาการค้าขยาย ก็ได้รับรูปแบบวิธีการต่อและเดินเรือมาจากประเทศจีน





เรือเดินทะเล : จะให้บริการเฉพาะเมืองท่าที่สำคัญ เช่น เรือควีนอลิซาเบธที่ ๒ ให้บริการระหว่างเมืองเซาท์แฮมตัน ประเทศอังกฤษ กับนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
เรือสำราญ : คล้ายโรงแรมลอยน้ำ ให้ความสะดวกสบาย หรูหรา มีบริการห้องพัก ห้องประชุม
เรือข้ามฟาก : ใช้สำหรับเดินทางในระยะสั้นๆ
เรือใบและเรือยอร์ช : เป็นเรือขนา่ดเล็ก-กลาง เคลื่อนที่โ
ดยลมปะทะกับใบเรือ หรือแล่นโดยเครื่องยนต์
เรือบรรทุกสินค้า : เป็นเรือที่ส่งสินค้าและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ไม่เร่งรีบ มีห้องพักเหมือนเรือสำราญ แต่ราคาถูกกว่า รับผู้โดยสารได้ประมาณ ๑
๒ คน

๓. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
เกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี ค.ศ. ๑๙๐๓ พี่้น้องตระกลูWrightได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องบิน และออกบินทางด้านธุรกิจครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ระหว่างเมืองLondonและเมืองParis




แต่เกิดการขนส่งผู้โดยสารครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๒๗ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบินระหว่างเมืองBostonและเมืองNewYork จนกระทั่งในปี ค.ศ. ๑๙๓๕ ได้เริ่มจ้างพนักงานบนเครื่องบินขึ้น

การบินเที่ยวบินประจำ : แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) เที่ยวบินประจำภายในประเทศ
๒) เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ
การบินเที่ยวบินไม่ประจำ : เป็นการบินเสริมนอกตาราง สามารถรับ-ส่ง ผู้โดยสารทั่วไปได้ นิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว
การบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำ : เป็นการบินให้บริการแก่องค์กร กลุ่มนักท่องเที่ยว



วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๔ องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


๑. แหล่งท่องเที่ยว

เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมอุตส
าหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีคำจำกัดความ ๓ คำที่จำเป็นต่การศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ๑) ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปธรรมและนามธรรม นำไปใช้เพื่อเกิดการพักผ่อน การประกอบกิจกรรมนันทนาการ นำไปสู่ความพอใจและความสุขในแบบต่างๆ
๒) จุดหมายปลายทาง (Destination) คือ สถานที่ๆใดที่หนึ่ง เป็นที่เฉพาะ หรือทั่วไป หรือหลายๆที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

๓) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) คือ สถานที่ที่มีศักยภาพดึงดูดคนไปเยี่ยมชม หรือ ประกอบกิจกรรมนันทนาการ

ดังนั้น แหล่งท่องเที่ยว คือ สถานที่ๆเกิดจากธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว เพื่อตอบสนองความพึงพอใจ หรือประกอบกิจกรรมนันทนาการ


๒. ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว


แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่

- ขอบเขต (Scope)
๑) จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น
๒) จุดมุ่งหมายรอง คือ สถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะพัก
หรือเยี่ยมชมระหว่างทางในเวลาสั้นๆ

- ความเป็นเจ้าของ คือ ผู้ที่ดูแลแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ รัฐบาล เอกชน องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร

- ความคงทนถาวร คือ การแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ที่เป็นสถานที่ ที่เป็นเทศกาล


๓. ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

คือ สิ่งที่สามา
รถสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แบ่งแหล่งท่เที่ยวออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑) แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ คือ ที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งชีวภาพและกายภาพ รวมบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่คงสภาพธรรมชาติเอาไว้ เช่น ภูเขา น้ำตก ทะเล น้ำพุร้อน สวนสัตว์เปิด อุทยานแห่งชาติ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น




๒) แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ ที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ อายุ และรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างกันออกไป ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
ในประเทศไทย กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น
๗ ประเภท ได้แก่

๑. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ ที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากไม่มีจะเกิดความสูญเสียอย่างมาก เช่น พระบรมมหาราชวัง พระธาตุดอยสุเทพ


๒. อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่สร้างเพื่อบุคคล หรือเรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์

๓. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่มีคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม



๔. ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสถาปัตยกรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์

๕. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ พื้นที่ที่มีสถาปัตยกร
รม วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

๖. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ เมืองที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม เช่น อยุธยา



๗. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณ ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาตร์ที่สำคัญของชาติ เช่น โบราณสถานเวียงกุมกาม

๓) แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น คือ ที่ที่มีแบบอย่างการดำเนินชีวิต ความเชื่อ กิจกรรมต่างๆที่สืบทอดกันมา เป็นแบบเฉพาะในแต่ละชุมชน เช่น การแห่นางแมว บุญบั้งไฟ สงกรานต์ เป็นต้น



ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทที่๓ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

แรงจูงใจ


แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว หมายถึง เครือข่ายทั้งหมดที่กำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว
เป็นแนวคิดทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา

- พลังทางด้านจิตวิทยา คือ ความต้องการทำสิ่งต่างๆ เช่น อยากว่ายน้ำ อยากปีนเขา
- พลังทางด้านสังคมวิทยา คือ ความอยากมีหน้ามีต
าในสังคม อยากทันสมัย อยากดูมีระดับ

ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

๑. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy Of Needs)ของ Abraham Maslow
-
Maslow ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด ความต้องการที่เป็นตัวกระตุ้นแบ่งออกเป็น ๕ ขั้น


ขั้นที่ ๑ ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
ขั้นที่ ๒ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต

ขั้นที่ ๓ ความต้องการทางด้านสังคม

ขั้นที่ ๔ ความต้องการเกี
ยรติยศชื่อเสียง
ขั้นที่ ๕ ความต้องการทางด้านความสำเร็จของตนเอง ซึ่งเป็นความต้องการ
สูงสุด แต่ไม่ทุกคนที่จะทำสำเร็จ

๒. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(Travel Career Ladder)ของLundberg
-
Lundberg ได้กล่าวไว้ว่า การท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุดเพื่อตอบสนอง
♦ ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
ความต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ
♦ ความต้องการทำสิ่งที่้ท้าทาย

♦ ความต้องการเห็นสิ่งที่แปลกใหม่

แรงจูงใจวาระซ้อนเร้น (Hidden Agenda)ของCrompton

มี ๗ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ
๒. การสำรวจและการประเมิตนเอง
๓. การพักผ่อน
๔. ความต้องการเกียรติภูมิ
๕. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
๖. การกระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

๗. การเสริมสร้างการสังสรรค์ทางสังคม

แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศน
ะของ Swoarbroke


มี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจทางด้านสรีระ หรือ ทางกายภาพ

๒. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
๓. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความรู้สึกบางอย่าง
๔. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพ
๕. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

๖. แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว


Pearce, Morrison และ Rutledge (๑๙๙๘) ได้่นำเสนอ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
ไว้ ๑๐ประการ ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม

๒. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
๓. แรงจูงใจที่จะ่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
๔. แรงจูงใจที่เสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

๕. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สบาย
๖. แรงจูงใจที่ได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึก
ทักษะ
๗. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี

๘. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
๙. แรงจูงใจที่
จะได้รับการยอมรับและสถานภาพทางสังคม
๑๐. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตนเอง


ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย




นักเดินทางประเถทแบกเป้(Backpackers) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจในการเดินทางสรุปได้ ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. การหลีกหนี (Escape) เช่น การหลีกหนีความรับผิดชอบชั่วคราวในการงาน
๒. การมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวแบบผ
จญภัย
๓. การทำงาน (Employment) เช่น ไปทำงานในต่างถิ่น จึงเกิดแรงจูงใจอยากท่องเที่ยว
๔. เน้นการคบหาสมาคม (Social Focus) ต้องการพบปะผู้
คนใหม่ๆในต่างถิ่น

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมก
รท่องเที่ยว

๑. ระบบไฟฟ้า
๒. ระบบประปา
๓. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม

๔. ระบบการขนส่ง
๔.๑ ระบบการเดินทางทางอากาศ

๔.๒ ระบบการเดินทางทางบก
๔.๓ ระบบการเดินทางทางน้ำ
๕. ระบบสาธารณสุข

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค

๑. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
๑.๑ ลักษณะภูมิประเทศ จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ซึ่งมีได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขา ภูเ
ขาไฟ ที่เกิดจากการดันตัวของ ความร้อนใต้ผิวโลก

๒) การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทราย (Sand Dune) ในทะเลทรายเกิดจากลมพัดทรายมากองรวมกันเป็นเนิน


๑.๒ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จะทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศที่สวยงามต่างกัน และดึงดูดนักท่องเทียวต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยวสถานที่นั้นๆได้มากขึ้น

๒. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
คือ วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต ซึ่งมีการสืบทอดปฏิบัติต่อกันมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในแต่ละชาติจะมีวัฒธรรมที่แตกต่างกัน การท่องเที่ยวโดยอาศัยปัจจัยทางวัฒนธรรม จะก่อให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆและเกิดการแลกเปลี่ยน นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ ทั้งดีหรือไม่ เกิดขึ้น

ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์