วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่๓ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางท่องเที่ยว

แรงจูงใจ


แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว หมายถึง เครือข่ายทั้งหมดที่กำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว
เป็นแนวคิดทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา

- พลังทางด้านจิตวิทยา คือ ความต้องการทำสิ่งต่างๆ เช่น อยากว่ายน้ำ อยากปีนเขา
- พลังทางด้านสังคมวิทยา คือ ความอยากมีหน้ามีต
าในสังคม อยากทันสมัย อยากดูมีระดับ

ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

๑. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy Of Needs)ของ Abraham Maslow
-
Maslow ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด ความต้องการที่เป็นตัวกระตุ้นแบ่งออกเป็น ๕ ขั้น


ขั้นที่ ๑ ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
ขั้นที่ ๒ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต

ขั้นที่ ๓ ความต้องการทางด้านสังคม

ขั้นที่ ๔ ความต้องการเกี
ยรติยศชื่อเสียง
ขั้นที่ ๕ ความต้องการทางด้านความสำเร็จของตนเอง ซึ่งเป็นความต้องการ
สูงสุด แต่ไม่ทุกคนที่จะทำสำเร็จ

๒. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(Travel Career Ladder)ของLundberg
-
Lundberg ได้กล่าวไว้ว่า การท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุดเพื่อตอบสนอง
♦ ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง
ความต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ
♦ ความต้องการทำสิ่งที่้ท้าทาย

♦ ความต้องการเห็นสิ่งที่แปลกใหม่

แรงจูงใจวาระซ้อนเร้น (Hidden Agenda)ของCrompton

มี ๗ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ
๒. การสำรวจและการประเมิตนเอง
๓. การพักผ่อน
๔. ความต้องการเกียรติภูมิ
๕. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
๖. การกระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

๗. การเสริมสร้างการสังสรรค์ทางสังคม

แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศน
ะของ Swoarbroke


มี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจทางด้านสรีระ หรือ ทางกายภาพ

๒. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
๓. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความรู้สึกบางอย่าง
๔. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพ
๕. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

๖. แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว


Pearce, Morrison และ Rutledge (๑๙๙๘) ได้่นำเสนอ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
ไว้ ๑๐ประการ ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม

๒. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
๓. แรงจูงใจที่จะ่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
๔. แรงจูงใจที่เสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว

๕. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สบาย
๖. แรงจูงใจที่ได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึก
ทักษะ
๗. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี

๘. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
๙. แรงจูงใจที่
จะได้รับการยอมรับและสถานภาพทางสังคม
๑๐. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตนเอง


ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย




นักเดินทางประเถทแบกเป้(Backpackers) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจในการเดินทางสรุปได้ ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. การหลีกหนี (Escape) เช่น การหลีกหนีความรับผิดชอบชั่วคราวในการงาน
๒. การมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวแบบผ
จญภัย
๓. การทำงาน (Employment) เช่น ไปทำงานในต่างถิ่น จึงเกิดแรงจูงใจอยากท่องเที่ยว
๔. เน้นการคบหาสมาคม (Social Focus) ต้องการพบปะผู้
คนใหม่ๆในต่างถิ่น

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมก
รท่องเที่ยว

๑. ระบบไฟฟ้า
๒. ระบบประปา
๓. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม

๔. ระบบการขนส่ง
๔.๑ ระบบการเดินทางทางอากาศ

๔.๒ ระบบการเดินทางทางบก
๔.๓ ระบบการเดินทางทางน้ำ
๕. ระบบสาธารณสุข

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค

๑. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
๑.๑ ลักษณะภูมิประเทศ จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ซึ่งมีได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขา ภูเ
ขาไฟ ที่เกิดจากการดันตัวของ ความร้อนใต้ผิวโลก

๒) การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทราย (Sand Dune) ในทะเลทรายเกิดจากลมพัดทรายมากองรวมกันเป็นเนิน


๑.๒ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จะทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศที่สวยงามต่างกัน และดึงดูดนักท่องเทียวต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยวสถานที่นั้นๆได้มากขึ้น

๒. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
คือ วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต ซึ่งมีการสืบทอดปฏิบัติต่อกันมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในแต่ละชาติจะมีวัฒธรรมที่แตกต่างกัน การท่องเที่ยวโดยอาศัยปัจจัยทางวัฒนธรรม จะก่อให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆและเกิดการแลกเปลี่ยน นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ ทั้งดีหรือไม่ เกิดขึ้น

ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น