วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๘ ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว



ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม คือ การประกอบกิจการให้บริการด้านอาหาร และเครื่องดื่มแก่นักท่องเที่ยว เพื่อความอิ่มหนำสำราญ ในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มแบ่งออก ๗ ประเภท


๑) ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants) เน้นความสะดวก ราคาถูก ปริมาณมากๆ แต่จะไม่มีบริการขายแอลกอฮอล์ ดำเนินการในรูปแบบการรับสิทธิ์ (Franchising)
๒) ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shops) บริการขายอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย์ แซนด์วิส สลัด
๓) ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets) เน้นการบริการตนเอง สามารถกินได้ทุกอย่างในราคาเดียว มีทั้งในร้านอาหารทั่วไป และภัตตาคารในโรงแรมต่างๆ
๔) ธุรกิจคอฟฟี่ช้อพ (Coffee shops) เน้นบริการอาหารอย่างรวดเร็วอยู่ที่เคาเตอร์ ราคาไม่แพงทำเลจะเป็นอาคารกึ่งสำนักงาน
๕) ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias) เน้นบริการตนเอง รายการอาหารค่อนข้างจะน้อย
๖) ธุรกิจอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants) เน้นบริการระดับสูง กลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานการบริการของพนักงาน สถานที่ตกแต่งหรูหรา
๗) ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurants) เน้นบริการอาหารประจำถิ่น ตกแต่งจุดเด่นร้านเป็นลักษณะเด่นของแต่ละชาติ

อาหารไทย





๑) ภาคเหนือ ได้แก่ ขันโตก รสชาติจะไม่นิยมหวาน เพราะได้ความหวานจากการต้มพืชผัก น้ำพริกหนุ่ม มีของแนม คือ แคบหมู ขนมจีนน้ำเงี้ยว น้ำพริกถั่วเน่า
๒) ภาคใต้ ได้แก่ ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงเหลือง แกงไตปลา จะเน้นเครื่องเทศ ขมิ้นดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลและรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
๓) ภาคอีสาน ได้แก่ เนื้อที่นำมาถนอมอาหาร ปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู และสัตว์อื่นๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ
๔) ภาคกลาง
แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท
๑. อาหารที่รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น แกงกะทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง
๒. อาหารที่ใช้ความประณีตในการทำ เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ ลูกชุบ ข้าวแช่
๓. อาหารที่มีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือต้องแนมด้วยหมูหวาน ไข่เค็ม
๔. อาหารว่างและขนม เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ช่อม่วง ข้าวตัง หน้าตั้ง

การดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food And Beverage Service Operations) แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท

๑) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง เช่น ไก่ทอด สลัด ไอศกรีม
๒) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ
๓) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูง
๔) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่สามารถทิ้งได้ เมื่อใช้งานเสร็จ เพื่อลดต้นทุนการทำความสะอาด
๕) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงไม่ซับซ้อน ทำให้พนักงานบริการได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะอาหารที่มีการบริการในโรงแรม

๑. อาหารเช้า (Breakfast) บริการในช่วง ๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. แบ่งเป็น
แบบยุโรป มีน้ำ ผลไม้ ขนมปัง แยม เนย หรือกาแฟเท่านั้น ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
แบบอเมริกัน มีน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน ตามด้วยชา กาแฟ
๒. อาหารก่อนกลางวัน (Brunch) บริการในช่วง ๐๙.๓๐-๑๑.๓๐ น. อาหารที่หนักกว่ามื้อเช้า
๓. อาหารกลางวัน (Lunch) บริการในช่วง ๑๑.๓๐-๑๔.๐๐ น. มีเนื้อสัตว์ มักตามใจลูกค้าสั่งตามราคาที่แจ้งไว้ หรือจัดแบบรายการอาหารชุด


แบ่งออกเป็นดังนี้
๑) อาหารจานเดียว
๒) อาหารกลางวันประเภทสองจาน
๓) อาหารกลางวันประเภทสามจาน
๔) อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์
๔. อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea) บริการ ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ น. มี ชา กาแฟ เค้ก ขนมอื่นๆ และผลไม้

๕. อาหารเย็น (Dinner) เริ่มบริการ ๑๙.๐๐ น. จะเป็นมื้อที่หนักที่สุดของแต่ละวัน มี

๑) อาหารประเภทเรียกน้ำย่อย ได้แก่ อาหารจำพวกออร์เดิฟ
๒) ซุป
๓) อาหารนำอาหารหลัก ได้แก่ อาหารทะเล
๔) อาหารหลัก ได้แก่ อาหารจำพวกไก่ หมู เนื้อ เป็ด อาหารจำพวกแป้ง เช่น มันฝรั่ง
๕) ของหวาน ได้แก่ ผลไม้ ขนม หรือ ไอศกรีม

๖. อาหารมื้อดึก เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังอาหารมื้อเย็น หรืออาหารหนัก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างแก่ผู้บริโภคและบริการแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่
๑) ห้างสรรพสินค้า
๒) ศูนย์การค้า
๓) ร้านค้าปลอดอากรและร้านปลอดภาษี

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก คือ การประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน


ธุรกิจนันทนาการ

ธุรกิจนันทนาการ คือ การประกอบธุรกิจการให้บริการ เพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลิน สำหรับคนเดินทาง หรือนักท่องเที่ยว

๑) ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. สวนสนุก
๒. สวนสุกรูปแบบเฉพาะ
๒) ธุรกิจบันเทิง


ธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ

๑) ธุรกิจการจัดประชุมสัมมนา
๑. การประชุมสัมมนาภายในประเทศ
๒. การประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ
๒) ธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการและสินค้า
๓) ธุรกิจเช่าซื้อ


การจัดการความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ประเภทความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

๑) ภัยในที่พัก
๒) ภัยจากการเดินทาง
๓) ภัยจากการท่องเที่ยว สาเหตุ คือ

๑. อาชญากรรม
๒. อุบัติเหตุ
๓. สาธารณสุข
๔. ภัยธรรมชาติ
๕. การหลงทาง
๖. พืชและสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว
ที่มา : เอกสารคำสอนวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น