วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๑๑ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรระหว่างประเทศ
1.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยรัฐ


ก.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับโลกโดยภาครัฐ
1.1. องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : WTO)
เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาล เริ่มดำเนินการในสถานภาพขององค์การท่องเที่ยวโลกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มกราคม ปี 2518 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และมีสำนักงานย่อยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกสามัญขององค์การตั้งแต่ปี 2495 เป็นต้นมา


องค์กรและหน้าที่ขององค์การท่องเที่ยวโลก ได้แก่
1) สมัชชา เป็นองค์กรควบคุมการปฏิบัติงานขั้นสูงสุดขององค์การท่องเที่ยวโลก กำหนดการประชุม 2 ปี ต่อ 1ครั้ง
2) คณะมนตรีบริหาร เป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาและกำหนดมาตรการในการดำเนินงานขององค์การให้สำเร็จลุล่วงไปตามมติและข้อเสนอแนะของสมัชชากรรมการ ของคณะมนตรีบริหารแต่งตั้งโดยสมัชชา และต้องเป็นสามัญสมาชิก มีกรรมการทั้งหมด 26 คน มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง
3) สำนักงานเลขาธิการ เป็นหน่วยงานที่มีเลขาธิการเป็นผู้ควบคุมการดำเนินทางด้านวิชาการและธุรการทั่วไป
4) สำนักงานเลขาธิการภูมิภาค เป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานเลขาธิการขององค์การ ประจำอยู่ภูมิภาคต่างๆ
5) คณะกรรมการธิการประจำภูมิภาค เป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ดำเนินงานตามโครงการของภูมิภาคให้สำเร็จลุล่วงไปตามมติ
1.2. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(International Civil Aviation Organization: ICOA)
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา จัดตั้งขึ้นในปี 2489 ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก
ข.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคโดยภาครัฐ
องค์กรที่สำคัญได้แก่ องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงปารีสประเทศประเทศฝรั่งเศล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายที่สามารถจะบรรลุถึงจุดสุดยอดในการค้ำจุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ระหว่างประเทศสมชิกขององค์กร ปัจจุบันประเทศสมาชิกของ OECD มีทั้งหมด 31 ประเทศ
ค.องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับอนุภูมิภาคโดยภาครัฐ
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2) โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุทวีปบังคลาเทศ-อินเดีย-เมียนม่าร์-ศรีลังกา-ไทย
3) โครงการความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา (Mekong-Ganga Cooperation)
4) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT)
5) คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน
2. องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
ก. องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับโลดโดยภาคเอกชน
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (World Travel and Tourism Council : WTTC) ก่อตั้งในปี 1990 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และมรสมาชิก 100 ประเทศ
2) สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ในกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการขนส่งทางอากาศที่ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และถูกต้องตามหลักเศรษฐกิจ ปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา มีสมาชิก 274 สายการบิน
3) สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ (International Congress and Convention Association : ICCA ) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1963 ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีสมาชิก 80 ประเทศ
4) องค์กรแห่งความห่วงใยในการท่องเที่ยว (Tourism Concern)ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1989 มีสำนักงานอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
5) สหพันธ์สมาคมบริษัทนำเที่ยวนานาชาติ (Universal Federation of Travel Agent : UFTAA) ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966
ข. องค์กรระหว่างประเทศที่ดำเนินการในระดับภูมิภาคโดยภาคเอกชน
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (The Pacific Asia Travel Association : PATA) ก่อตั้งขึ้นที่มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2494 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครซานฟรานซิกโก ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการอยู่ที่กรุงเทพฯ
2) สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเอเชียตะวันออก (East Asia Travel Association : EATA) ก่อตั้งในปี 2509 โดยรวบรวมประเทศต่างๆที่อยู่ในเส้นทางการบินสายตะวันออกไกลเข้าด้วยกัน
3) สมาคมท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association: ASEANTA) เป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ ค.ศ. 1971
4) สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา (American Society of Travel Agents : ASTA) ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา ที่มลรัฐนิวยอร์ค เมื่อปี ค.ศ. 1931


องค์กรในประเทศไทย
1. องค์กรของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ
ก. องค์กรของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยตรง
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) สำนักนายกรัฐมนตรี
2) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 5 หมวด 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545
3) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในปัจจุบัน ททท. สังกัดอยู่ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หลังจากที่อยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่เริ่มจัดตั้งองค์กร
4) สำนักงานส่งเสริมกาจัดประชุมและนิทรรศการ(สสปน. –Thailand Convention and Exhibition Bureau- TCEB) จัดตั้งขึ้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545
ข. องค์กรของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยอ้อม
1. องค์กรที่กำกับดูแลด้านแหล่งท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2) กรมทรัพยากรธรณี
3) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)
4) กรมศิลปากร
5) กรมศาสนา
6) กรมชลประทาน
7) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.)
8) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9) กรมควบคุมมลพิษ
10) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
11) องค์การสวนสัตว์
12) องค์การสวนพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย
13) สำนักงานจังหวัด
14) สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
2. องค์กรที่กำกับดูแลด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กรมการขนส่งทางอากาศ
2) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
3) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
4) บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด(มหาชน) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
5) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
6) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
7) กรมทางหลวง
8) กรมการขนส่งทางบก
9) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
10) การรถไฟแห่งประเทศไทย
11) บริษัท ขนส่ง จำกัด
12) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าส่วนนครหลวง
13) การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวง
14) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
3. องค์กรที่กำกับดูแลด้านสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
2) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
5) กรมศุลกากร
4. องค์กรที่กำกับดูแลด้านบริการทางการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1) กองกำกับการตำรวจท่องเที่ยว (บก.ทท.)
2) สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เป็นหน่วยงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535
3) กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
4) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ศบท.)
5) ธนาคารและสถาบันการเงิน
6) กระทรวงสาธารณสุข
7) กรมสรรพากร
5. องค์กรที่กำกับดูแลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
องค์กรที่สำคัญ ได้แก่
1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2. องค์กรของภาคธุรกิจเอกชน
หน่วงงานสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่
1. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents - ATTA)
2. สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association - TTAA)
3. สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. –The Association of Thai Tour Operators-ATTO)
4. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน. – The Association of Domestic Travel - ADT)
5. สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย(สมอ.- Professional Guide Association Thailand - PGA)
6. สมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สทภท.-Thai Federation of Provincial Tourist Association - TFOPTA)
7. สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.- Thai Ecotourism & Adventure Tourism Association - TEATA)
8. สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำประเทศไทย(พาต้าไทย–PATA Thailand Chapter)
9. ไซท์ไทยแลนด์ แชพเตอร์ (Society of Incentive & Travel Executive - SITE)
10. สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (Thailand Incentive & Convention Association - TICA)
11. สมาคมโรงแรมไทย (Thai Hotels Association - THA)
12. สมาคมภัตตาคารไทย (Thai Restaurant Association - TRA)
13. สมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจ (สพจ.-The Thai Amusement and Leisure Parks - TAPA)
14. สมาคมดพื่อสวนสัตว์ไทย (Thai Zoo Association – T.ZA.) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542
15. สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ
16. ชมรมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาตรฐาน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2540
17. สมาคมรถโดยสารไม่จำทาง (สสท. – The Tourist Transport Association - TTA)
18. สมาคมเรือไทย (Thai Boat Association) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535
19. สมาคมการแสดงสินค้า(ไทย)(The Trade Exhibition Association (Thai)-TEA)ปัจจุบันมีสมาชิก 66องค์กร
20. สมาคมสปาไทย (Thai Spa Association) จัดตั้งขึ้นโดยมิได้หวังผลกำไล
21. หอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัด จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2476
22. สภาอุตสาหกรรมทองเที่ยวแห่งประเทศไทย


ที่มา : เอกสารคำสอนประกอบวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น